วันอังคารที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2560

     
 ข้อเปรียบเทียบของการเรียนแบบเดิมกับการเรียนแบบกลับด้าน 


ได้กล่าวถึงแนวคิดของห้องเรียนกลับด้านมาในเบื้องต้นนั้น มีบทสรุปเปรียบเทียบให้เห็นถึงรูปแบบ ของการจัดการเรียนการสอนแบบกลับด้าน ( Flipped Learning ) กับรูปแบบการจัดการเรียนการสอน แบบเดิม ( Traditional Learning ) กล่าวคือการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับทางนั้นจะมุ่งเน้น การสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยตัวผู้เรียนเองตามทักษะ ความรู้ความสามารถและสติปัญญาของเอกัตบุคคล ( Individualized Competency ) ตามอัตราความสามารถทางการเรียนแต่ละคน ( Self-Paced )จากมวล ประสบการณ์ที่ครูจัดให้ผ่านสื่อเทคโนโลยี ICT หลากหลายประเภทในปัจจุบัน และเป็นลักษณะการเรียนรู้ จากแหล่งเรียนรู้นอกชั้นเรียนอย่างอิสระทั้งด้านความคิดและวิธีปฏิบัติซึ่งแตกต่างจากการเรียนแบบเดิมที่ ครูจะเป็นผู้ป้อนความรู้ประสบการณ์ให้ผู้เรียนในลักษณะของครูเป็นศูนย์กลาง ( Teacher Center ) ดังนั้น การสอนแบบกลับทางจะเป็นการเปลี่ยนแปลงบทบาทของครูอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือครูไม่ใช่ผู้ถ่ายทอด ความรู้แต่จะท าบทบาทเป็นติวเตอร์ ( Tutors )หรือโค้ช ( Coach )ที่จะเป็นผู้จุดประกายและสร้างความ สนุกสนานในการเรียน รวมทั้งเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียน ( Facilitators )ในชั้นเรียนนั้นๆ 


ภาพเปรียบเทียบห้องเรียนแบบเดิม กับห้องเรียนแบบกลับด้าน 


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพเปรียบเทียบห้องเรียนกลับด้าน


    ต่อไปนี้ขอกล่าวถึงข้อเปรียบเทียบด้านตัวอย่างของกิจกรรมและเวลา ระหว่างการเรียนแบบเดิม กับห้องเรียนกลับด้าน ดังแสดงให้เห็นจากตาราง


ตารางปรียบเทียบกิจกรรมและเวลาเรียนระหว่างห้องเรียนแบบเดิมกับห้องเรียนกลับด้าน


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เปรียบเทียบกิจกรรมและเวลาเรียนระหว่างห้องเรียนแบบเดิมกับห้องเรียนกลับด้าน

ตัวแบบ ( Model ) ของห้องเรียนแบบกลับด้าน การจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน ( Flipped Classroom ) ซึ่งเป็นนวัตกรรมการ เรียนการสอนรูปแบบใหม่ในการสร้างผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้แบบรอบด้านหรือ Mastery Learning นั้น จะมีองค์ประกอบส าคัญที่เกิดขึ้น 4 องค์ประกอบที่เป็นวัฏจักร ( Cycle ) หมุนเวียนกันอย่างเป็นระบบ ซึ่ง องค์ประกอบทั้ง 4 ที่เกิดขึ้นได้แก่ 3
1. การก าหนดยุทธวิธีเพิ่มพูนประสบการณ์ ( Experiential Engagement ) โดยมีครูผู้สอนเป็นผู้ ชี้แนะวิธีการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนเพื่อเรียนเนื้อหาโดยอาศัยวิธีการที่หลากหลายทั้งการใช้ กิจกรรมที่ก าหนดขึ้นเอง เกม สถานการณ์จ าลอง สื่อปฏิสัมพันธ์ การทดลอง หรืองานด้าน ศิลปะแขนงต่างๆ
2. การสืบค้นเพื่อให้เกิดมโนทัศน์รวบยอด ( Concept Exploration ) โดยครูผู้สอนเป็นผู้คอย ชี้แนะให้กับผู้เรียนจากสื่อหรือกิจกรรมหลายประเภทเช่น สื่อประเภทวิดีโอบันทึกการบรรยาย การใช้สื่อบันทึกเสียงประเภท Podcasts การใช้สื่อ Websites หรือสื่อออนไลน์ Chats -6-
3. การสร้างองค์ความรู้อย่างมีความหมาย ( Meaning Making ) โดยผู้เรียนเป็นผู้บูรณาการ สร้างทักษะองค์ความรู้จากสื่อที่ได้รับจากการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างกระดานความรู้ อิเล็กทรอนิกส์ ( Blogs ) การใช้แบบทดสอบ ( Tests ) การใช้สื่อสังคมออนไลน์และกระดาน ส าหรับอภิปรายแบบออนไลน์ ( Social Networking & Discussion Boards )
4. การสาธิตและประยุกต์ใช้ ( Demonstration & Application ) เป็นการสร้างองค์ความรู้โดย ผู้เรียนเองในเชิงสร้างสรรค์ โดยการจัดท าเป็นโครงงาน ( Project ) และผ่านกระบวนการ น าเสนอผลงาน ( Presentations ) ที่เกิดจากการรังสรรค์งานเหล่านั้น Model หรือตัวแบบของการจัดกิกรรมการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน ( The Flipped Classrooms ) ที่กล่าวไว้ในเบื้องต้นนั้น สามารถกำหนดเป็นภาพเชิงกราฟิกดังต่อไปนี้ 4 ภาพที่ 3. โมเดลห้องเรียนแบบกลับด้าน ( Flipped Classroom Model )
Source : http://www.google.go.th/imgres?imgrurl=http://1.bp.blogspot.com/Pprl


                                    โมเดลห้องเรียนแบบกลับด้าน (Flipped Classroom Model)


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เปรียบเทียบกิจกรรมและเวลาเรียนระหว่างห้องเรียนแบบเดิมกับห้องเรียนกลับด้าน



อ้างอิง : file:///C:/Users/Administrator/Downloads/Fulltext%2311_247597.pdf












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น